วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

พระนครศรีอยุธยา



" ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา "
ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ อยุธยา ” ตั้งอยู่ในภาคกลาง เป็นเมืองหลวงเก่าของไทย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 โดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ในเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ (ไม่รวมขุนวรวงศาธิราช) จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง นับเป็นราชธานีของไทย ที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่อยู่ในดินแดนแหลมทองแห่งนี้

อยุธยา มีพื้นที่เป็นที่ลุ่ม มีแม่น้ำสายใหญ่คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกัน ในลักษณะล้อมรอบผืนแผ่นดินส่วนใหญ่ของตัวเมืองไว้ ตัวจังหวัดจึงเป็นเกาะ ที่มีบ้านเรือนปลูกเรียงรายหนาแน่น ตามสองข้างฝั่งแม่น้ำ


อาณาเขตและการปกครอง :
อยุธยา อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 76 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 2,556.6 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่างๆ ดังนี้

ทิศเหนือ จดจังหวัดลพบุรี อ่างทอง และ สระบุรี
ทิศใต้ จดจังหวัดปทุมธานี และ นนทบุรี
ทิศตะวันออก จดจังหวัดสระบุรี
ทิศตะวันตก จดจังหวัดสุพรรณบุรี

อยุธยา แบ่งการปกครองออกเป็น 16 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอนครหลวง อำเภอภาชี อำเภอบ้านแพรก อำเภอบางซ้าย อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางบาล อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน อำเภอเสนา อำเภออุทัย อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอท่าเรือ และอำเภอวังน้อย


ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ :
อำเภอท่าเรือ ระยะทาง 60 กิโลเมตร
อำเภอนครหลวง ระยะทาง 20 กิโลเมตร
อำเภอบางไทร ระยะทาง 45 กิโลเมตร
อำเภอบางบาล ระยะทาง 10 กิโลเมตร
อำเภอบางปะอิน ระยะทาง 17 กิโลเมตร
อำเภอบางปะหัน ระยะทาง 13 กิโลเมตร
อำเภอผักไห่ ระยะทาง 29 กิโลเมตร
อำเภอภาชี ระยะทาง 35 กิโลเมตร
อำเภอลาดบัวหลวง ระยะทาง 65 กิโลเมตร
อำเภอวังน้อย ระยะทาง 20 กิโลเมตร
อำเภอเสนา ระยะทาง 20 กิโลเมตร
อำเภอบางซ้าย ระยะทาง 34 กิโลเมตร
อำเภออุทัย ระยะทาง 15 กิโลเมตร
อำเภอมหาราช ระยะทาง 25 กิโลเมตร
อำเภอบ้านแพรก ระยะทาง 53 กิโลเมตร

ระยะทางจากจังหวัดอยุธยาไปยังจังหวัดใกล้เคียง
- กรุงเทพฯ ระยะทาง 76 กิโลเมตร
- สระบุรี ระยะทาง 63 กิโลเมตร
- สุพรรณบุรี ระยะทาง 53 กิโลเมตร

วิหารพระมงคลบพิตร

พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปอิฐบุทองสัมฤทธิ์สีดำตลอดองค์เพราะเคลือบรักไว้
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ.2081 สำหรับเป็นพระพุทธรูป
ประจำวัดซีเซียง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรง
โปรดเกล้าฯ ให้ชลอพระมงคลบพิตรมาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรี
สรรเพชญ์ และสร้างมณฑปครอบไว้ ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือเกิดฟ้าผ่าเครื่อง
มณฑปพังลงมาต้องพระศอหักก็โปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากมณฑปสร้างใหม่และซ่อมพระศอ
ให้เหมือนเดิม จนเมื่อ พ.ศ.2310 เสียกรุงศรีอยุธยาวิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟไหม้
ทรุดโทรม พระเมาฬี และพระกรขวาหัก ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาโบราณราชธานินทร์
ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยาได้ซ่อมองค์พระด้วยปูนปั้นและ
ในปี พ.ศ.2535 วิหารพระมงคลบพิตรทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีขนาด
ใหญ่มากที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย


พระราชวังหลวงหรือพระราชวังโบราณ

พระราชวังหลวงที่ปรากฏในพระนครศรีอยุธยาปัจจุบันคงเหลือแต่ฐานอาคารให้เห็น
เท่านั้น สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองสร้างพระราชวังตั้งแต่เมื่อครั้งประทับอยู่ที่เวียงเล็ก
เมื่อ พ.ศ.1890 และเมื่อสร้างกรุงเสร็จใน พ.ศ.1893 จึงย้ายมาประทับที่พระราชวังใหม่
ริมหนองโสน พระที่นั่งต่างๆ ในครั้งแรกนี้สร้างด้วยไม้อยู่ในบริเวณซึ่งปัจจุบันเป็นวัด
พระศรีสรรเพชญ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.1991 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงถวายที่บริเวณ
พระราชวังเดิมสร้างเป็นวัดในเขต พระราชวัง เรียกว่า "วัดพระศรีสรรเพชญ์" แล้วทรง
สร้างพระราชวังหลวงใหม่เลื่อนไปทางทิศเหนือชิดริมแม่น้ำลพบุรี พระที่นั่งต่างๆ ในเขต
พระราชวังหลวงหรือที่เรียกในปัจจุบันว่า พระราชวังโบราณเดิมเป็นที่ประทับของ
พระมหากษัตริย์อยุธยาทุกรัชกาล ตั้งอยู่ริมกำแพงพระนครศรีอยุธยาทางด้านเหนือมีถนน
สายรอบกรุงผ่านจากวังจันทรเกษมไปเพียง 2 กิโลเมตร เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร.035-242284
บริเวณพระราชวังมีพระที่นั่งที่สำคัญดังนี้
พระที่นั่งวิหารสมเด็จ ตั้งอยู่ตอนใต้สุดเป็นปราสาทยอดปรางค์ มีมุขหน้าหลังยาว
แต่มุขข้างสั้น มีกำแพงแก้วล้อม 2 ด้าน ตามพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาท
ทอง ทรงโปรดฯ ให้สร้างเมื่อพ.ศ.2186 เพื่อแทนพระที่นั่งมังคลาภิเษกที่ถูกฟ้าผ่าไฟ
ไหม้ ชาวบ้านเรียกว่า "ปราสาททอง" เนื่องจากเป็นปราสาทปิดทององค์แรกที่สร้าง
ขึ้นสำหรับประกอบพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ
พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท เป็นปราสาทยอดปรางค์ตั้งอยู่ตรงกลางสร้างแบบเดียว
กับพระที่นั่งวิหารสมเด็จมีมุขยื่นออกมาเพื่อเสด็จออกรับแขกเมือง มีโรงช้างเผือก
กระหนาบอยู่สองข้าง
พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ เป็นปราสาทจตุรมุขก่อด้วยศิลาแลง อยู่ติดกำแพงริม
แม่น้ำ เดิมชื่อ"พระที่นั่งสริยามรินทร์" ต่อมาเปลื่ยนเป็นชื่อนี้ เพื่อให้คล้องกับชื่อ
"พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท" ก่อสร้างเป็นปราสาทจตุรมุขยกพื้นสูงกว่าพระที่นั่งองค์อื่น
ใช้เ้ป็นที่สำหรับประทับทอดพระเนตร ขบวนแห่ทางน้ำ
พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างเมื่อ พ.ศ.2175
พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งศิริยโสธรมหาพิมานบรรยงค์" คล้ายปราสาทที่นครธม
ต่อมาเปลี่ยนเป็น "พระที่นั่งจักรวรรติไพชยนต์" ลักษณะเป็นปราสาทตรีมุขตั้งอยู่บน
กำแพงชั้นในหน้าพระราชวังเป็นที่สำหรับทอดพระเนตรกระบวนแห่และฝึกซ้อมทหาร
เหมือนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ที่พระบรมมหาราชวังกรุงเทพมหานคร
พระที่นั่งตรีมุข อยู่ข้างหลังพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทไม่ปรากฎปีที่สร้างเข้าใจว่า
เดิมเป็นพระที่นั่งฝ่ายในและเป็นที่ประทับในอุทยานฯ
พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ (พระที่นั่งท้ายสระ) เป็นปราสาทจตุรมุขตั้งอยู่บนเกาะ
กลางสระน้ำ สมเด็จพระเพทราชาโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับสำราญพระราชหฤทัย
เมื่อ พ.ศ.2233 และได้เสด็จประทับตลอดรัชกาลมีพระแท่นสำหรับทอดพระเนตรปลา
ที่ทรงเลี้ยงไว้สระนั้นด้วย
พระที่นั่งทรงปืน อยู่ริมสระด้านตะวันตก ใกล้พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ น่าจะใช้
เป็นที่ฝึกซ้อมเพลงอาวุธและในสมัยพระเพทราชาทรงใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนาง

วัดไชยวัฒนาราม

อยู่ริมแม่น้ำฝั่งเดียวกับวัดพุทไธสวรรค์ แต่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะเมือง
พระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นในปี พ.ศ.2173 เพื่อ
อุทิศวายให้เป็นอนุสรณ์สถาน ณ บ้านเดิมของพระราชมารดาและเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
ในการเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยทรงมีพระราชนิยมศิลปะแบบขอมวัดนี้จึงมีสถาปัยกรรม
รูปปรางค์ ประกอบด้วยพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ เป็นองค์ประธานสูงเด่นอยู่ท่ามกลาง
ปรางค์ทิศและปรางค์รายทั้ง 8 ทิศ สันนิษฐานว่าแต่เดิมในคูหาปรางค์ประธาน เป็นที่
ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ หรือสิ่งอันควรบูชาอื่น ๆ พระอุโบสถวัดอยู่ทางด้าน
ตะวันออกของพระปรางค์ มีซากพระประธานเป็นพระพุทธรูปปรางค์มารวิชัย สร้างด้วย
หินทราย และที่ฐานประทักษิณด้านทิศเหนือมีฐานรากของเจดีย์ 3 องค์ ตั้งเรียงกัน
สันนิษฐานว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง รัตนกวีแห่งกรุงศรี
อยุธยา) เจ้าสังวาลย์ และเจ้าฟ้านิ่มพระสนมเอก ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปัจจุบันเป็น
วัดร้าง แต่ยังมีพระปรางค์ใหญ่และเจดีย์รายตามมุมคงเหลืออยู่และรูปทรงยังสมบูรณ์
ดีเป็นส่วนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น