วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

ประจวบคีรีขันธ์


"เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสัปปะรด สวยสดหาดเขาถ่ำ งามล้ำน้ำใจ "

ข้อมูลทั่วไป

ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง ตอนล่าง ซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับ ภาคใต้ และมีแหล่งท่องเที่ยว ที่น่าสนใจหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นชายหาดต่างๆ หมู่เกาะหรือป่าเขาลำเนาไพร เป็นสถานที่ตากอากาศเก่าแก่ ตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประจวบคีรีขันธ์เคยเป็นที่ตั้งของเมืองนารัง สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ขึ้น ที่ปากคลองอีรม ชื่อว่า เมืองบางนางรม และในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รวบรวมเมืองบางนางรม เมืองกุย และเมืองคลองวาฬเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งแปลว่าเมืองที่มีภูเขาเป็นหมู่ๆ โดยมีที่ว่าการเมืองอยู่ที่เมืองกุย จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 จึงย้ายที่ว่าการเมืองมาอยู่ที่อ่าวเกาะหลัก หรืออ่าวประจวบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่แคบเป็นคาบสมุทรยาวลงไปทางใต้ โดยมีส่วนที่แคบที่สุดจากเขตแดนไทย - พม่า ด้านตะวันตก จนถึงฝั่งทะเลด้านตะวันออก เป็นระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร อยู่บริเวณด่านสิงขร ท้องที่ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง และมีความยาว จากเหนือจรดใต้ เป็นระยะทางประมาณ 212 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย และอำเภอสามร้อยยอด

หมายเหตุ : การจัดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่ในภาคกลาง เป็นการแบ่งตามเขตการปกครองกระทรวงมหาดไทย หากเป็นการแบ่งภาคทางภูมิศาสตร์ ตามที่กำหนดไว้ ในอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยของราชบัณฑิตสถาน ประจวบคีรีขันธ์จัดอยู่ในภาคตะวันตก
________________________________________


ประวัติความเป็นมา :

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่ค่อยแน่ชัด สืบเนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ ยามมีศึกสงคราม ยากแก่การป้องกัน จึงต้องปล่อยให้เป็นเมืองร้าง หรือเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อจังหวัดเพชรบุรี โดยเป็นเพียงเมืองชั้นจัตวาเล็กๆ ที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครอง ของจังหวัดเพชรบุรี พอถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้โปรดเกล้าตั้งเมือง เมืองบางนางรม ที่ปากคลองบางนางรม ได้รวมเมืองบางนางรม เมืองกุย และเมืองคลองวาฬ แต่สภาพที่ดินไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก จึงได้มีการย้ายเมือง ไปยังเมืองกุยบุรี ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และการตั้งบ้านเรือน หนาแน่นกว่า แต่ยังเรียก เมืองบางนางรม ตามเดิม จวบจนถึงรัฐสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ชื่อคล้องกับชื่อของเมืองเกาะกง ที่ชื่อว่า "จังหวัดประจันตคีรีเขต" จนถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดการปกครอง แบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ จึงถูกยุบรวมเป็นอำเภอหนึงของจังหวัดเพชรบุรี และต่อมาได้มีการย้ายเมืองประจวบคีรีขันธ์ มาตั้งที่ตำบลเกาะหลัก ในช่วงนี้เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองปราณบุรี ขึ้นตรงกับจังหวัดเพชรบุรี ส่วนเมืองกำเหนิดนพคุณ ขึ้นตรงกับจังหวัดชุมพร ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพราชดำริ สงวนชื่อเมืองปราณบุรีไว้ (เมืองเก่าที่ตั้งอยู่ที่ปากน้ำปราณบุรี) จึงได้เปลี่ยนชื่อเมือง ประจวบคีรีขันธ์ ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะหลักเป็นเมืองปราณบุรี หรือ จังหวัดปราณบุรี รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรี เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อป้องกันการสับสน กับเมืองปราณบุรี ที่ปากน้ำปราณบุรี หลังจากมีการยกเลิก ระบบการปกครองแบบมณฑลเทศภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ จึงไม่ได้ขึ้นตรงกับ จังหวัดเพชรบุรี ในมณฑลราชบุรีอีก
____________________
____________________

อาณาเขต :

มีเนื้อที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.5 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดเพชรบุรี
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดกับสหภาพเมียนม่าร์ โดยมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นพรมแดน
ความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ประมาณ 212 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 224.8 กิโลเมตร มีส่วนที่แคบที่สุดของประเทศอยู่ในเขต ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จากอ่าวไทย ถึงเขตแดนพม่าประมาณ 12 กิโลเมตร ระยะทางจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดิน สายเอเชีย หมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 323 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงเศษ และตามเส้นทางรถไฟสายใต้ ประมาณ 318 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง
________________________________________


การปกครอง :

แบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 388 หมู่บ้าน
1. อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
2. อำเภอกุยบุรี
3. อำเภอทับสะแก
4. อำเภอบางสะพาน
5. อำเภอบางสะพานน้อย
6. อำเภอปราณบุรี
7. อำเภอหัวหิน
8. อำเภอสามร้อยยอด
________________________________________

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด :

* ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเกด (Manilkara hexandra)
* ต้นไม้ประจำจังหวัด: เกด (Manilkara hexandra)
* คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ
________________________________________

สถานที่ท่องเที่ยว :อ.หัวหิน

พระราชวังไกลกังวล

ตั้งอยู่ห่างจากหัวหินไปทางทิศเหนือ 3 กิโลเมตร บนถนนเพชร-เกษม กิโลเมตรที่ 229 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ผู้อำนวยการศิลปากร สถานในสมัยนั้นเป็นผู้ออกแบบและอำนวยการก่อ-สร้าง โดยใช้เงินพระคลังข้างที่ เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2469 โดยมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ต่อมาได้รับการซ่อมแซมและก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในบริเวณมีพระตำหนักหลายหลังมีชื่อคล้องจองกันได้แก่ พระตำหนักเปี่ยมสุข ปลุกเกษม เอิบเปรม เอมปรีดิ์ สร้างอยู่กลางอุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ โดยมีพื้นที่ด้านหนึ่งติดชายทะเล

ตัวเมืองหัวหิน

อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 195 กิโลเมตร และอยู่ก่อนถึงตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ 90 กิโลเมตร ตลาดหัวหินเป็นตลาดใหญ่มีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และโรงแรมมากมาย การคมนาคมสะดวก มีบริการรถสามล้อ รถสองแถวรับจ้าง และรถเช่า ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในตัวอำเภอและสถานที่ใกล้เคียง ด้านทิศตะวันออกของตัวเมืองเป็นชายหาด มีทางลงหาดอยู่ที่ถนนดำเนินเกษม แยกซ้ายมือจากทางหลวงหมายเลข 4 บริเวณกิโลเมตรที่ 232 หาดหัวหินมีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ทรายขาวละเอียดเหมาะแก่การเล่นน้ำทะเล

อนุสรณ์สถานโผน กิ่งเพชร

หรือ มานะ สีดอกบวบ เป็นชาวอำเภอหัวหิน โดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2478 มีชื่อเสียงโด่งดังด้านกีฬามวยสากล และเป็นแชมป์เปี้ยนโลกคนแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2503 ภายหลังได้เสียชีวิตลงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2525 เทศบาลตำบลหัวหินร่วมกับหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน ได้ร่วมกันจัดหาทุนสร้างอนุสรณ์สถานโผน กิ่งเพชร เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537 ณ บริเวณชายหาดหัวหิน

สถานีรถไฟหัวหิน

ร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 โครงสร้างของหลังคา และส่วนประกอบช่วงบน โทร. (02) 229-3456-63
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอ และกิ่งอำเภอต่าง ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั่วไปสามารถใช้บริการได้ ค่าสนามวันธรรมดาวันละ 500 บาท วันหยุด วันละ 850 บาท ติดต่อจองสนามได้ที่กรุงเทพฯ โทร. 241-1360-5 ต่อ 174 หรือที่หัวหิน โทร. (032) 512475

เขาตะเกียบ เขาไกรลาส

เป็นภูเขา 2 ลูกที่อยู่ใกล้กัน ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอหัวหินไปทางทิศใต้ 14 กิโลเมตร โดยมีทางแยกจากถนนเพชรเกษมที่กิโลเมตร 235 เข้าไปจนถึงเชิงเขาจากตลาด หัวหินมีรถโดยสารวิ่งระหว่างหัวหิน-เขาไกรลาส-เขาตะเกียบ ทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 06.00 -17.00 น.
เขาตะเกียบเป็นเขาที่ยื่นออกไปในทะเลมีโขดหินสวยงาม สามารถขึ้นไปบนเขาชมทิวทัศน์โดยรอบได้ ชายหาดเขาตะเกียบมีความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีความลาดชันน้อย ทรายขาวละเอียด บริเวณชายหาดมีร้านอาหารและที่พักหลายแห่ง

สวนสนประดิพัทธ์


อยู่ห่างจากหัวหินไปทางทิศใต้ 9 กิโลเมตร โดยมีทางแยกจากถนนเพชรเกษม ที่กิโลเมตร 240 เข้าไป 500 เมตร มีรถโดยสารจากหัวหินไปยังสวนสนทุก 20 นาที สวนสน-ประดิพัทธ์อยู่ในความดูแลของศูนย์การทหารราบ ปราณบุรี บริเวณอยู่ติดกับชายหาดมีที่พักลักษณะเป็นบังกาโล และเรือนแถวจำนวนรวม 50 ห้อง ราคา 300-1,000 บาท ติดต่อจองที่พักได้ที่ โทร. (032) 536581-3
เขาเต่า

อยู่ห่างจากตัวอำเภอหัวหินประมาณ 13 กิโลเมตร โดยมีทางแขกจากถนนเพชร-เกษม ที่กิโลเมตร 243-244 เข้าไปอีก 1 กิโลเมตร มีรถโดยสารวิ่งระหว่างหัวหิน-สามแยกเขาเต่าทุก 20 นาที บริเวณเขาเต่ามีหาดทรายที่สะอาดและสวยงามอยู่ 2 แห่ง คือ หาดทรายน้อย และหาดทรายใหญ่ มีบังกะโลเอกชนบริการติดต่อจองที่พักได้ที่บังกะโลโดยตรง นอกจากนี้ยังมีเกาะขนาดเล็กอยู่ไม่ห่างจากชายฝั่งเท่าใดนัก บนเกาะมีเปลือกหอยชนิดต่าง ๆ ทับถมกันอยู่มากมาย

เกาะสิงห์โต

อยู่ทางทิศตะวันออกจากสวนสนประดิพัทธ์ประมาณ 800 เมตร เป็นเกาะเล็ก ๆ รูปร่างคล้ายสิงห์โตนอนหมอบหันหน้ามาทางทิศเหนือ ซึ่งเหมาะสำหรับตกปลา แล่นเรือใบ และดำน้ำ สามารถเช่าเรือได้ที่หมู่บ้านเขาตะเกียบ

น้ำตกป่าละอู

ตั้งอยู่ในป่าละอูซึ่งมีพื้นที่ถึง 273,125 ไร่ อุดมไปด้วยป่าไม้เขียวชอุ่มและสัตว์ป่านานาชนิด อีกทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยงจำนวนหนึ่งด้วย ป่าละอูจัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ป่าละอูของกรมป่าไม้ ตั้งอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำก่อนถึงตัวน้ำตก 2 กิโลเมตร
น้ำตกป่าละอูประกอบด้วยน้ำตกละอูใหญ่และน้ำตกละอูน้อย ซึ่งไหลลดหลั่นกันมาอย่างสวยงามถึง 11 ชั้น สามารถลงเล่นน้ำได้ ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน
การเดินทางจากตลาดหัวหิน มีทางแยกจากถนนเพชรเกษมไปทางทิศตะวันตก ตามทางหลวงหมายเลข 3129 จนสุดถนนราว 63 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านฟ้าประทาน แล้วเดินทางต่อไปอีกราว 4 กิโลเมตร ซึ่งสามารถเช่ารถสองแถวไป-กลับได้ ราคาประมาณ 800 บาท ซึ่งจอดอยู่ที่ถนนชมสินธุ์
นักท่องเที่ยวต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานฯ คนละ 5 บาท ในกรณีที่ต้องการพักค้าง-แรม ต้องนำเต๊นท์และอาหารมาเอง โดยเสียค่าบำรุงสถานที่อีก 5 บาท ติดต่อขออนุญาตพักค้างแรมในเขตอุทยานฯ ได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ป่าละอู อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น