วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

สันโศก



สันโศก (clausena evcavata)

สันโศก เป็นไม้พุ่ม พบได้ทั่วไป มีลำต้นสูงคล้ายกับไม้ยืนต้น พบว่าในรากและเหง้าสันโศก มีสารออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HIV-1(เอดส์) ถึง 5 ชนิด ณะวิจัยได้พบวิธีควบคุมคุณภาพของสันโศกโดยการวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ยับยั้งเอดส์เพื่อนำไปใช้เป็นสมุนไพรเสริมยับยั้งเชื้อเอดส์ การสกัดด้วย 35% เอทานอล-น้ำ โดยให้ความร้อน หรือ ที่อุณภูมิห้อง จะออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อเอดส์ได้ดี ภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้แช่ด้วยเหล้า 35 ดีกรี ประมาณ 7 วัน และก่อนนำไปรับประทานควรนำไปอุ่นเพื่อให้เอทานอลระเหยออกไป สมุนไพรนี้จึงเป็นความหวังที่จะใช้เป็นสมุนไพรเสริมหรือเป็นยารักษาโรคเอดส์ ซึ่งนอกจากรักษาโรคเอดส์แล้ว สันโศกยังเพิ่มภูมิคุ้มกันและยับยั้งเชื้อราและเชื้อวัณโรคได้ด้วย

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

พลู



พลู (Piper betle Linn)

พลู เป็นไม้เถาที่มีสารออกฤทธิ์ยูจีนอล และไฮดรอกซีชาวีคอล ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียได้ดีมาก รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว ดังนั้นคณะวิจัยจึงได้ทำการศึกษาสารออกฤทธิ์จากพลูแหล่งต่างๆ พบว่าแต่ละแหล่งมีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่างกัน จึงได้นำสารสกัดพลูที่มีสารออกฤทธิ์สูง มาผสมในสบู่ที่มาสารถช่วยป้องกันและยับยั้งสิว และยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ (มีสบู่กลีเซอรีนพลู จำหน่ายในราคาถูกในงานฯ)

แพทชูลี



แพทชูลี (Pogostemon cablin )

แพทชูลี เป็นพืชที่ให้น้ำมันหอมระเหยที่มีราคาแพง ปกติน้ำมันหอมระเหยจากแพทชูลีจะนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อมาใช้ประโยชน์เป็นสุวคนธบำบัดและนำมาใช้ในสปา แพทชูลีสามารถปลูกได้ง่าย คณะวิจัยได้ทำการศึกษาวิธีการปลูก การเก็บเกี่ยว การสกัด เพื่อให้ได้น้ำมันหอมระเหยสูงสุด พบว่าน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากใบแพทชูลีสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด รวมทั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว ดังนั้นคณะวิจัยจึงได้ทำการพัฒนาน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดมาเป็นผลิตภัณฑ์สบู่ โฟมล้างหน้า และธูปหอม ส่วนกากแพทชูลีนำมาทำเป็นธูปไล่ยุงที่มีประสิทธิภาพสูง และกลิ่นชวนดม

ขมิ้นชัน


ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน สามารถทำการวิจัยแบบครบวงจร โดยนำไปใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เป็นยารักษาโรค คณะวิจัยได้ทำการวิจัยนำสารสกัดซึ่งมีน้ำมันหอมระเหย และเคอร์คูมินอยด์ เป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญมาทำเป็นสบู่กลีเซอลีนขมิ้นชันที่ใช้ล้างหน้าและฟอกตัวได้ คุณสมบัติทำให้ผิวผ่อง ป้องกันหรือลดกระ ฝ้า ลดรอยเหี่ยวย่น ทำให้อ่อนวัย มีความชุ่มชื้นในขณะเดียวกันได้นำสารออกฤทธิ์เคอร์คูมินอยด์ในสารสกัดมาทำการเติมไฮโดรเจนได้เป็นสารสีขาวมีชื่อว่า เตตระไฮโดรเคอร์คูมินอยด์ (THC) ซึ่งมีคุณสมบัติออกฤทธิ์สูงกว่าเคอร์คูมินอยด์ เมื่อนำไปผสมในครีมจะเรียกว่า ครีมหน้าเด้ง เนื่องจากสามารถช่วยลดริ้วรอย ทำให้อ่อนวัย ลดกระ ฝ้า ทำให้ผิวผ่องได้ดี ให้ความชุ่มชื้น ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ และกันแดดได้ (ครีมหน้าเด้งและสบู่กลีเซอลีนขมิ้นชันมีจำหน่ายราคาถูกในงานฯ) ในงานนี้ยังแสดงถึงการนำสารสกัดขมิ้นชันไปผสมในอาหารสัตว์น้ำ (กุ้ง ปลา) และสัตว์บก (สุกร ไก่) ซึ่งสามารถช่วยทดแทนสารปฏิชีวนะ เพิ่มภูมิคุ้มกันและลดต้นทุน มีความปลอดภัยสูง และมีการนำน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันผสมกับน้ำมันหอมระเหยอื่นมาทำเป็นน้ำยาล้างมือที่สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้ นอกจากนี้เป็นส่วนผสมในอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ต่างๆ แม้กระทั่งกากขมิ้นชันก็มีประโยชน์ในการนำไปทดแทนส่วนผสมในอาหารสัตว์บางชนิด ทำให้ลดต้นทุนในการผลิต และนอกจากนี้ยังพบว่า สมุนไพรขมิ้นชันสามารถป้องกันเชื้อไข้หวัดนกได้

การท่องเที่ยว

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza FLU)

เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในคนทุกเพศทุกวัย พบได้เกือบทั้งปี แต่จะเป็นมากในช่วงฤดูฝน (ช่วงเดือนกรกฏาคม ถึง ธันวาคม) บางปีอาจพบการระบาดทั่วโลก พบสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยผู้ใหญ่ที่มีอาการตัว ร้อนมา 2-3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า อินฟลูเอนซาไวรัส(Influenza virus) เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหาของผู้ป่วยติดต่อโดยการไอหรือ จาม หรือหายใจรดกัน

ระยะฟักตัว1-4 วัน เชื้อไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิดใหญ่ เรียกว่า ชนิด เอ บี และ ซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ออกไปอีกมากมาย ในการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดพันธุ์ย่อยเพียงพันธุ์เดียว เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อพันธุ์นั้น แต่ไม่สามารถต้านทางพันธุ์อื่น ๆ ได้จึงอาจติดเชื้อ จากพันธุ์ใหม่ได้ เชื้อไข้หวัดใหญ่บางพันธุ์ อาจผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิดการระบาดใหญ่ และมีการเรียกชื่อโรคที่ระบาดแต่ละครั้งตามชื่อ ของประเทศที่เป็นแหลงต้นกำหนด เช่น ไข้หวัดใหญ่ ฮ่องกง (เรียก สั้น ๆ ว่าไข้หวัด ฮ่องกง หรือหวัดฮ่องกง),ไข้หวัดรัสเซีย, ไข้หวัดสิงคโปร์เป็นต้น

อาการ

มักจะเกิดขึ้นทันที่ทันใดด้วยอาการไข้สูงหนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก(โดย เฉพาะที่กระเบนเหน็บ ต้นขา ต้นแขน) ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีอาการเจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้ง ๆ จุกแน่นท้อง แต่บางราย ก็อาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้ มีข้อสังเกตุว่าไข้หวัดใหญ่มักเป็นหวัดน้อย แต่ไข้หวัดน้อยมักเป็นหวัดมาก ไข้มักเป็นอยู่ 2-3 วัน แล้วค่อย ๆ ลดลง อาการไอ และอ่อนเพลียอาจจะเป็นอยู่ อาจเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่น ๆ จะทุเลาแล้วก็ตาม บางคนเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้ว อาจมีอาการวิงเวียนเหมือนเมารถเมาเรือ เนื่องจากมีการอักเสบของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งมักจะหายเองภายใน 3-5 วัน

สิ่งที่ตรวจพบ

ไข้ 38.5-40ฐC เปลือกตาแดง อาจมีน้ำมูกใส คอแดงเล็กน้อย หรือไม่แดงเลย(ทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึก เจ็บคอ) ส่วนมากมักตรวจไม่พบอาการผิดปกติอื่น ๆ

อาการแทรกซ้อน

1. ให้การดูแลปฏิบัติตัวเหมือนเป็ฯไข้หวัด คือนอนพัก มาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนัก ห้อมอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน(ข้าวต้ำ โจ๊ก) ดื่มน้ำ และน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ มาก ๆ

การรักษา

1. ให้การดูแลฃ และปฏิบัติตัวเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักผ่อนมาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ตดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน (ข้าวต้มโจ๊ก) ดื่มน้ำลแน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้มาก ๆ
2. ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้บรรเทาปวด ยาแก้ไอ ยาดแก้หวัด เป็นต้น (ในกรณีเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน)
3. ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้ทุกราย เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อ แบคทีเรีย เช่น มีน้ำมูกหรือเสลด สีเหลืองหรือเขียว ,ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น ยาปฏิชีวนะ ที่มีให้เลือกใช้ ได้แก่ เพนวี แอมพิซิลลิน หรือ อีโรโทรมัยซิน
4. ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ โดยเฉพาะถ้าพบในคนสูงอายุ หรือเด็กเล็ก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าพบว่าปอดอักเสบ
ควรให้ยา ปฏิชีวนะชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ

ข้อแนะนำ

1. โรคนี้ถือว่าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง
2. อาการไข้สูง ปวดเมื่อย และไม่มีอาการอื่น ๆ ชัดเจน อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ในระยะเริ่มแรก ก็ได้ เช่น ไข้รากสาดน้อย ตับอักเสบ จากไวรัส ไข้เลือดออก หัด เป็นต้น จึงควรสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการอื่น ๆ ปรากฎให้เห็นก็ควรให้การรักษา ตามโรคที่สงสัย
ถ้าหากมีอาการไข้นานเกิน 7 วัน มักจะไม่ใช่ไข้หวัดแต่อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น เช่น ไข้รากสาดน้อย มาลาเรีย เป็นต้น ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ มักจะมีไข้ไม่เกิน 7 วัน
3. ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายกันมาก แต่ไข้หวัดใหญ๋มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ จะแยกกันไม่ออก แต่ก็ให้การดูแลรักษาเหมือน ๆ กัน
4. การป้องกัน ให้ยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับไข้หวัด ส่วนวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มักจะฉีดในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ซึ่งจะป้องกัน ได้นานประมาณ 12 เดือน ถ้ามีการระบาดในปีต่อ ๆ ไป ก็ต้องฉีดใหม่อีก โดยทั่วไป ถ้าไม่มีการระบาด จะไม่ฉีดวัคซีนให้แก่คนทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ มีอยู่หลายพันธุ์ เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าในการระบาดครั้งต่อไป จะเกิดจากเชื้อชนิดใด